The Artitude series Part 3: ศิลปินตัวเล็กในประเทศไทยกำลังจะตายเพราะปัญหาโควิดที่ภาครัฐด้านศิลปะไม่ช่วยอะไรเลย

ภาพ3.png

บทความนี้ผู้เขียนจะชวนผู้อ่านทุกท่านมาทบทวนถึงช่วงเวลา 2 ปี ในสถานการณ์โรคระบาดที่ร้ายแรงที่สุดในโลก ในขณะที่ศิลปินตัวเล็ก ๆ กำลังอดตาย แต่ในคณะเดียวกันก็มีกลุ่มข้าราชการที่ยังสุขสบาย ที่ยังได้รับเงินเดือนจากภาษี แต่งานที่พวกเขาทำใน 2 ปีนี้ แทบไม่มีศิลปินคนไหนนึกออกเลยว่าผลงานคืออะไร

 

  1. นี่คือช่วงที่เราตาสว่างและมืดบอดในเวลาเดียวกัน หลายคนได้ต่อความหวังด้วยเงินแจกของรัฐ และหมดหวังกับที่รัฐมีทางออกแค่ทางเดียว

  2. เรากำลังเจอปัญหาที่ยากที่จะแก้ได้ มันไม่ใช่ปัญหาในธุรกิจเรา แต่คือปัญหาโครงสร้างสังคมที่ทำให้ธุรกิจเรามีปัญหา

  3. เกาหลีมีการแจกเงินให้ศิลปิน Musical หลายร้อยคน คนละ 3-5 หมื่นต่อเดือน แลกกับการศิลปินต้องเสนอและสร้างงานช่วงโควิด

  4. มันไม่ใช่เรื่องเปรียบเงินน้อยเงินมาก ประเด็นสำคัญคือประเทศอื่นเอาเงินเยียวยาเงินช่วยเหลือมาจากไหนให้ประชาชนมากมายได้

  5. มีเรื่องตลกที่เศร้า ๆ ศิลปินบางแขนง เช่น นักละครเวที นักเต้นบางคน ไม่เดือดร้อนกับการขาดรายได้ในช่วงโควิด

  6. เพราะพวกเขาหลายคนก่อนโควิดก็ไม่ได้มีรายได้จากการทำศิลปะตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ในเชิงบริหารรัฐมันหมายถึงอะไร ?

  7. ดูเผิน ๆ ปัญหาอยู่ที่ความสามารถในการหาเงินของพวกเขา เป็นปัญหาส่วนตัว..

  8. แต่ในวันที่คุณล้มหรือเดือดร้อนอย่างวันนี้ จำไว้เถอะจริง ๆ แล้วมีหน่วยงานรัฐหน่วยนึงเสมอ ที่เกี่ยวข้องกับงานที่คุณทำอยู่

  9. เขามีหน้าที่ช่วยคุณในวันที่คุณล้ม วันที่คุณไม่เห็นอนาคต หน่วยงานรัฐนี้ควรเป็นความหวังแรกที่คุณจะนึกถึง

  10. แต่ในความจริงเราไม่เคยนึกถึง และนึกไม่ออกว่ามันมีหน่วยงานรัฐที่ต้องคอยช่วยเรา มากกว่าแค่การไปลุ้นรับเงินเยียวยาด้วยหรอ

  11. ถ้าคุณไม่รู้และไม่รู้สึกถึงพวกเขา ผมจะบอกว่าคุณกำลังโดนรัฐและข้าราชการบางส่วนตีเนียน และทำนาบนหลังคุณสุด ๆ อยู่

  12. ยกตัวอย่าง กระทรวงศิลปวัฒนธรรมมีงบปีละ 7 พันล้านบาท ช่วงโควิดเราอาจคิดว่าเขาจะโยกเงินส่วนนี้ไปช่วยสาธารณสุข 

  13. ถ้ากระทรวงที่เกี่ยวกับอาชีพคุณมีการโยกเงินไปขนาดนั้นจริง คุณจะไม่เห็นการซื้อรถถัง ซื้อเสาไฟกินรีแน่นอน 

  14. จำไว้ว่าทุกกระทรวงมีเงินจับจ่ายในช่วงโควิด (เกือบเท่าเดิม) ทุกอันหมด

  15. ฉะนั้นคำถามที่เราต้องตั้งและช่วยกันมาตาสว่างเพิ่มขึ้นคือ ถ้า 2 ปีโควิดนี้ กระทรวงศิลปวัฒนธรรมจริง ๆ มีงบรวม 10,000 กว่าล้านบาท 

  16. โครงการที่เขาทำไปมันมีอันไหนที่เรารู้สึกว่า จำได้ น่าสนใจ เหมาะในสถานการณ์ที่ศิลปินหลายคนเดือดร้อนแบบนี้ไหม

  17. เพราะจริง ๆ แล้ว เราควรได้รับเงินเยียวยาจากรัฐ และเราสามารถเขาถึงเงินของกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับอาชีพเราได้ เพราะมันเป็นเงินคนละก้อนกัน

  18. เราจะเริ่มได้คำตอบว่าทำไมศิลปินเกาหลีได้รับเงินช่วงโควิดมากกว่าที่เราเข้าใจว่าเขาควรได้รับ

  19. เพราะมันควรมีทั้งเงินเยียวยาจากส่วนกลาง และมีเงินจ้างงานจากกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับอาชีพของพวกเราด้วยยังไงหล่ะ 

  20. เทียบง่าย ๆ ถ้าสถานการณ์นี้กระทรวงศิลปะเปลี่ยนแผนงานทั้งหมดที่วางไว้ แล้วคิดโครงการเอาเงินมาจัดสรรให้ศิลปินที่เดือดร้อนได้ทำงานจริง ๆ ใหม่ คุณอาจไม่ต้อง Call out เพื่อศิลปะอะไรเลย

  21. และจำไว้เรามีความชอบธรรมที่จะตั้งคำถามนี้ได้ เพราะเราต้องรู้ว่าในขณะที่มีศิลปินหลายคนเดือดร้อนในโควิด งบทุกอย่างที่ตั้งไว้เกือบหมื่นล้านต่อปีมันถูกใช้หมดไปแล้ว

  22. รวมถึงงบใหม่ในปี 64 ก็กำลังจะถูกใช้โดยที่เราแทบไม่เห็นโครงการอะไรที่จะช่วยศิลปินแบบที่เหมาะสมกับสถานการณ์เลย

  23. ในขณะที่คุณเดือดร้อนมีข้าราชการที่ได้รับเงินเดือนมาตลอด 2 ปีนี้ และมีศิลปินบางคนที่ได้รับเงินไปทำงาน ที่ศิลปินนั้นอาจไม่ใช่พวกคุณ

  24. บางคนอาจสงสัยว่าและมันผิดหรอที่จะมีศิลปินบางคนเท่านั้นที่ได้รับโอกาสสิ่งนี้ ถ้าเขาเป็นคนเก่งและทำผลงานดี 

  25. มันไม่ผิดเลย แต่คำถามที่ควรถามคือ "หน้าที่ของรัฐจริง ๆ คือ เข้ามาทำงานเพื่อช่วยประชาชนที่เป็นศิลปินทุกคน หรือ ทำงานเพื่อช่วยศิลปินบางกลุ่มเท่านั้น"

  26. ฉะนั้นอย่าทำให้คนเก่งกลายเป็นศัตรูกับคนไม่เก่งเลย เพราะจริง ๆ เขาไม่จำเป็นต้องสู้กันเลยตั้งแต่แรก นี่เป็นปัญหาจากโครงสร้างที่ไม่ดี..

  27. ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่เราจะตาสว่างกับหลาย ๆ สิ่ง และเราต้องมาช่วยกันตาสว่างกับสิ่งที่เกี่ยวกับเราจริง ๆ

  28. ทุกกระทรวงต้องถูกตั้งคำถาม ตรวจสอบ ใหม่ทั้งหมด ในช่วงโควิดนี้มีหลายหน่วยงานที่ตีกินเนียนทุกอย่าง 

  29. เราควรได้รับทั้งเงินเยียวยา และได้รับทางออกอื่น ๆ จากกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับอาชีพที่ท่านทำ ไม่ว่าจะการศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม หรือใด ๆ ก็ตาม 

  30. เงินภาษีพวกเราถูกกระจายไปอยู่ในทุกกระทรวง และเขาต้องใช้มันให้หมด มันจะเกิดการใช้เงินแบบเสาไฟเสากินรีอีกเรื่อย ๆ 

  31. เพราะปัญหาหลักคือ คณะบริหารนี้บริหารเมืองไม่เป็น และใช้เงินแล้วแต่ใช้ไปกับสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ #เรามีประเทศที่ดีกว่านี้ได้ 

  32. สุดท้ายฝากถึงเพื่อน ๆ ที่ทำงานศิลปะ 2 ปีนี้ ตัวอย่างเงินกว่า 10,000 กว่าล้าน ของกระทรวงศิลปวัฒนธรรมที่ใช้ไปและกำลังใช้ ถ้าเราช่วยกันดูให้เกิดการปรับแผนการใช้ได้ที่เกิดประโยชน์กับทุกคนจริง ๆ กว่านี้ นี่อาจเป็นจังหวะที่ดีที่สุดที่จะเปลี่ยนระบบโครงสร้างศิลปะของประเทศเราได้นะ 

 

มาช่วยกันตรวจสอบกระทรวงศิลปะทุกอันที่เกี่ยวกับพวกเราเถอะ ศิลปะในประเทศเรามันดีได้กว่านี้อีกมากทุกคนรู้ 

#TheArtitude

 

ผู้เขียน

กฤษณ์ สงวนปิยะพันธ์ (หลุยส์)

Director of Blind Experience

สนใจเรื่องการสร้างสรรค์สังคมด้วยไอเดียศิลปะ 

เชื่อว่า Arts Society Business Sustainability คือสิ่งที่สามารถอยู่ร่วมกันได้