แถลงการณ์คัดค้านการละเมิดเสรีภาพทางศิลปะ ครั้งที่ 2

ภาพจาก ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

ภาพจาก ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

 

สืบเนื่องจากนายวิธญา คลังนิล สมาชิกกลุ่ม “ลานยิ้มการละคร” ได้จัดการแสดง "สำรอกบทกวี" เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ณ บริเวณประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่และได้รับหมายจับจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติรวม 5 ข้อหา (เพิ่มเติมจากครั้งที่ 1) ได้แก่

  1. ร่วมกันกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ยุยงปลุกปั่น

  2. ฝ่าฝืนข้อกำหนดตามพระราชกำหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน มาตรา 9 (2) 

  3. ฝ่าฝืนข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ มาตรา 18

  4. ไม่แจ้งการชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ

  5. ใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง

มูลนิธิละครไทยไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับการตั้งข้อหาดังกล่าว

สังคมเสรีคือสังคมที่ประชาชนทุกคนล้วนมีสิทธิใช้วิจารณญาณของตนประเมินค่าว่างานศิลปะชิ้นใดเหมาะควรแก่การสร้างสรรค์หรือสนับสนุน อีกทั้งต้องไม่ปิดกั้นหรือคุกคามงานศิลปะโดยอ้างเหตุว่างานศิลปะอันเป็นการแสดงแนวคิดที่แตกต่างของศิลปินนั้นเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบฯ เพราะหัวใจของประชาธิปไตยคือการปะทะสังสรรค์ทางความคิด มิใช่ความเงียบสงัด

มูลนิธิละครไทยเห็นว่าการแสดงงานศิลปะไม่ว่าจะในครั้งใดไม่สมควรถูกคุกคามด้วยการดำเนินคดีเป็นอย่างยิ่ง จึงออกแถลงการณ์นี้เพื่อยืนหยัดเคียงข้างเสรีภาพทางศิลปะอีกครั้งหนึ่ง

มูลนิธิละครไทยมีพันธกิจเพื่อ “สนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ละครเวทีไทยร่วมสมัย” ภายใต้ค่านิยมหลัก “เสมอภาค หลากหลาย ไม่แบ่งแยก” มูลนิธิละครไทยยึดมั่นในการดำเนินนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบันมูลนิธิฯ มีพันธมิตรทั้งสิ้น 82 แห่งทั้งในและต่างประเทศ

 
fund+1.png
 

ร่วมกันสมทบทุนช่วยนักการละครสู้คดี

456-0-21696-7

ธนาคารกรุงไทย

นายวิธญา คลังนิล

สมทบทุนให้มูลนิธิละครไทยรณรงค์กับภาครัฐอย่างต่อเนื่อง

087-7-47409-8

ธนาคารกรุงเทพ

คณะบุคคล คณะทำงานจัดตั้งมูลนิธิละครไทย